ลูกบอลเด้งดึ๋ง


ลูกบอลเด้งดึ๋ง
วัสดุอุปกรณ์
1. ผงบอเรกซ์
2. น้ำอุ่น
3. กาวน้ำชนิดใส
4. กากเพชร
5. บีกเกอร์
6. แท่งแก้ว


วิธีทำ1. เติมน้ำอุ่น 1000 มิลลิลิตร และผงบอแรกซ์ 1 ช้อนโต๊ะ
ผสมเข้าด้วยกันและคนให้ละลาย
2. เทกาวน้ำชนิดใสลงในบีกเกอร์ เติมสีผสมอาหาร
กากเพชร แล้วคนให้เข้ากัน กาวที่ผสมแล้ว สารละลายบอแรกซ์  
 กาวที่ผสมแล้ว       สารละลายบอแรกซ์
3. เทสารละลายบอแรกซ์ที่เตรียมไว้ลงในบีกเกอร์ประมาณ 100 มิลลิลิตร
4. นำกาวน้ำชนิดใสที่เตรียมไว้เทลงในบีกเกอร์ที่มีสารละลายบอแรกซ์ ขณะที่เทกาวลงไปต้องใช้แท่งแก้วคนตลอดเวลา
 
สารข้นเหนียวที่ได้จากการทดลอง
5. จะมีสารลักษณะข้นเหนียวเกาะรอบแท่งแก้ว แล้วใช้มือแกะสารเหนียวซึ่งเราจะเรียกว่าลูกเด้งออกจากแท่งแก้ว
6. บีบลูกเด้งในอุ้งมือโดยใช้มือทั้งสองข้างค่อยๆ บีบและคลึงไปเรื่อยๆ
7. ลองปาลูกเด้งที่ได้บนโต๊ะหรือพื้นกระเบื้อง
ลูกบอลเด้งดึ๋ง
หมายเหตุ : อัตราส่วนระหว่างผงบอแรกซ์กับน้ำอุ่นสามารถปรับลดได้
ตามความต้องการนะคะเช่น ผงบอแรกซ์ ¼ ช้อนชา + น้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร

 

ถ้าไม่ได้ผลจะทำอย่างไร• ลองละลายบอแรกซ์ในน้ำให้มากขึ้น มันจะได้ผลเมื่อเราใช้น้ำอุ่น
• การบีบน้ำออกเราต้องค่อยๆ ทำมิฉะนั้นลูกบอลจะแตก แต่ถ้าลูกบอลแตกให้ขยำก้อนกาวให้ติดกันอีกครั้ง
ลูกบอลเด้งดึ๋งกระดอนได้อย่างไร          น้องๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมลูกบอลพลาสติกถึงกระเด้งได้อย่างง่ายดายเมื่อกระทบกับพื้น เรามาค้าหาความลับนั้นกัน
          จากการทดลองข้างต้น กาวน้ำใสธรรมดา เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์ ซึ่งต่อกันหลายๆ หน่วยย่อยจนกลายเป็นโมเลกุลสายยาว เรียกว่า พอลิเมอร์ ทำให้กาวมีคุณสมบัติเหนียว และเมื่อเติมสารละลายบอแรกซ์ลงไป จะเป็นตัวเชื่อมโมเลกุลเกาะติดกันเป็นสายยาวมากขึ้น ทำให้มีลักษณะเป็นยางยืดหยุ่น ลูกบอลจึงเด้งกระดอนได้เมื่อกระทบกับพื้น แต่น่าเสียดายที่ปฎิกิริยายังดำเนินต่อไป ดังนั้นลูกบอลเด้งดึ๋งจึงแข็งตัวขึ้นหลังจากผ่านไป 2-3 ชั่วโมง และไม่เด้งดึ๋งอีก
ทีนี้เราก็รู้แล้วว่า
           ลูกบอลมักผลิตด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะกลับคืนสู่รูปทรงเดิมของมันเสมอ เช่นเดียวกับลูกบอลเด้งดึ๋งแบบที่เราทำขึ้น เมื่อปาลงบนพื้น ลูกบอลเด้งดึ๋งที่กระทบพื้นจะถูกกดเข้าไป แต่เพราะมันทำด้วยวัสดุยืดหยุ่น ด้านที่โดนกดเข้าไปจึงคลายตัวกลับคืนสู่รูปร่างเดิมพร้อมกับส่งแรงดันต้านพื้น ทำให้ลูกบอลเด้งดึ๋งเด้งได้