ทำไมท้องฟ้าจึงมีสีฟ้า

อุปกรณ์

1. โหลใส่น้ำขนาดใหญ่
2. น้ำ
3. นม หรือนมผง
4. ไฟฉาย
5. ห้องมืด (ทำการทดลองในห้องมืด)
 


วิธีทำ

1.  เติมน้ำลงในโหล
2.  เติมนมหรือนมผงประมาณ ½ ช้อนชา
3.  ฉายไฟผ่านเข้าไปในโหลตามแนวดิ่งบริเวณเหนือผิวน้ำ จะเห็นน้ำเป็นสีฟ้า
4.  ฉายไฟจากด้านข้างบริเวณกลางโหล
5.  เคลื่อนไฟฉายไปอีกด้านและคอยมองดูแสงในน้ำ จะเห็นน้ำเป็นสีชมพู และบริเวณตรงที่ไฟฉายส่องจะเห็นเป็นสี
     เหลืองหรือส้ม

สิ่งที่เกิดขึ้น

         เมื่อคุณมองท้องฟ้าในตอนกลางวันจะเห็นเป็นสีฟ้า ทั้งที่แสงจากดวงอาทิตย์มีสีขาวประกอบด้วยสีม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง หรือสีรุ้งซึ่งเกิดจากความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน (ความยาวคลื่นสูง ความถี่ต่ำแต่ถ้าความยาวคลื่นต่ำ ความถี่สูง) โดยสีม่วง, ครามและน้ำเงินมีความยาวคลื่นสั้น(ความถี่สูง)กว่าสีแดง ส้ม และเหลือง ในตอนเช้าพระอาทิตย์จะอยู่ในระดับระนาบพื้น และอยู่ไกลจากระดับสายตาเพราะฉะนั้นแสงต้องเดินทางระยะไกลจากดวงอาทิตย์จนถึงดวงตา ความยาวคลื่นต่ำ ดวงตาจึงเห็นเป็นแสงสีแดง ขณะที่ตอนกลางวันดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ การเดินทางของแสงจากดวงอาทิตย์ถึงดวงตามีระยะสั้น คลื่นมีความถี่สูง เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นเป็นสีฟ้าในตอนกลางวัน
          ในการทดลอง ไฟฉายก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ น้ำที่มีนมผสมอยู่เปรียบเสมือนบรรยากาศ คือมีลักษณะเป็นคอล์ลอยมีการผสมกันของกาซไนโตรเจนและออกซิเจน การเคลื่อนตัวของไฟฉายเปรียบเสมือนการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในรอบวัน สีของเหลวจะแตกต่างกันไปตามการเคลื่อนตัวของไฟฉาย