ทำไมท้องฟ้าจึงมีสีฟ้า

อุปกรณ์

1. โหลใส่น้ำขนาดใหญ่
2. น้ำ
3. นม หรือนมผง
4. ไฟฉาย
5. ห้องมืด (ทำการทดลองในห้องมืด)
 


วิธีทำ

1.  เติมน้ำลงในโหล
2.  เติมนมหรือนมผงประมาณ ½ ช้อนชา
3.  ฉายไฟผ่านเข้าไปในโหลตามแนวดิ่งบริเวณเหนือผิวน้ำ จะเห็นน้ำเป็นสีฟ้า
4.  ฉายไฟจากด้านข้างบริเวณกลางโหล
5.  เคลื่อนไฟฉายไปอีกด้านและคอยมองดูแสงในน้ำ จะเห็นน้ำเป็นสีชมพู และบริเวณตรงที่ไฟฉายส่องจะเห็นเป็นสี
     เหลืองหรือส้ม

สิ่งที่เกิดขึ้น

         เมื่อคุณมองท้องฟ้าในตอนกลางวันจะเห็นเป็นสีฟ้า ทั้งที่แสงจากดวงอาทิตย์มีสีขาวประกอบด้วยสีม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-ส้ม-แดง หรือสีรุ้งซึ่งเกิดจากความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน (ความยาวคลื่นสูง ความถี่ต่ำแต่ถ้าความยาวคลื่นต่ำ ความถี่สูง) โดยสีม่วง, ครามและน้ำเงินมีความยาวคลื่นสั้น(ความถี่สูง)กว่าสีแดง ส้ม และเหลือง ในตอนเช้าพระอาทิตย์จะอยู่ในระดับระนาบพื้น และอยู่ไกลจากระดับสายตาเพราะฉะนั้นแสงต้องเดินทางระยะไกลจากดวงอาทิตย์จนถึงดวงตา ความยาวคลื่นต่ำ ดวงตาจึงเห็นเป็นแสงสีแดง ขณะที่ตอนกลางวันดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ การเดินทางของแสงจากดวงอาทิตย์ถึงดวงตามีระยะสั้น คลื่นมีความถี่สูง เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นเป็นสีฟ้าในตอนกลางวัน
          ในการทดลอง ไฟฉายก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ น้ำที่มีนมผสมอยู่เปรียบเสมือนบรรยากาศ คือมีลักษณะเป็นคอล์ลอยมีการผสมกันของกาซไนโตรเจนและออกซิเจน การเคลื่อนตัวของไฟฉายเปรียบเสมือนการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในรอบวัน สีของเหลวจะแตกต่างกันไปตามการเคลื่อนตัวของไฟฉาย

น้ำแข็งเต้นรำ


น้ำแข็งเต้นรำ

อุปกรณ์

1.  ขวดหรือแก้วทรงสูง
2.  น้ำมันพืช
3.  น้ำแข็งก้อน (อาจใส่สีผสมอาหารลงในน้ำที่ใช้ทำน้ำแข็งจะเห็นได้ง่ายขึ้น)

วิธีทำ

1.  เติมน้ำมันลงในแก้ว
2.  ใส่น้ำแข็งก้อนลงในแก้ว น้ำแข็งจะลอยอยู่ในน้ำมัน
3.  สังเกตเมื่อน้ำแข็งละลาย




สิ่งที่เกิดขึ้น

       กิจกรรมนี้เป็นการอธิบายเรื่องความหนาแน่น โดยความหนาแน่นเป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักมวลต่อปริมาณ เช่นน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นความหนาแน่นเท่ากับ1,000 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อกลายเป็นน้ำแข็งจะมีค่าความหนาแน่นน้อยกว่า
          เมื่อคุณใส่วัตถุใดๆลงในของเหลวจะมีแรง 2 ตัวกระทำต่อวัตถุนั้น ได้แก่ แรงโน้มถ่วงที่จะดึงวัตถุนั้นลง และแรงยกตัวที่จะดันวัตถุนั้นขึ้น วัตถุนั้นจะลอยหรือจมในของเหลวขึ้นอยู่กับความหนาแน่นโดย ?วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลวจะลอยแต่ถ้าความหนาแน่นมากกว่าของเหลวจะจม? น้ำแข็งและน้ำมันพืชมีความหนาแน่นใกล้เคียงกัน (ประมาณ 920 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ดังนั้นน้ำแข็งจะลอยปริมอยู่ในน้ำมันพืชแต่เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำมันดังนั้นหยดน้ำจะจมลงโดยดึงน้ำแข็งลงมาด้วยในตอนแรกแต่เมื่อหยดน้ำหลุดจากน้ำแข็งแล้วจมลง ขณะที่ก้อนน้ำแข็งจะลอยกลับขึ้นไปที่ผิวหน้าอีกครั้ง



เมื่อน้ำแข็งละลาย

เมื่อน้ำแข็งละลาย

        การทดลองนี้แสดงให้เห็นผลกระทบของระดับน้ำทะเลอันเนื่องมาจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะ

อุปกรณ์

1.  น้ำแข็งก้อน จำนวน 2 ก้อน
2.  ปากกาสำหรับทำเครื่องหมาย
3.  แก้วน้ำพลาสติกชนิดใส จำนวน 2 ใบ
4.  น้ำ
5.  ตลับใส่ฟิล์ม (ภายในบรรจุดิน)


วิธีทดลอง

1.  วางตลับฟิล์มลงในแก้วน้ำ เพื่อใช้เป็นตัวแทนของเกาะหรือแผ่นดิน แล้วเติมน้ำลงในแก้วประมาณครึ่งแก้ว
2.  เติมน้ำลงในแก้วใบที่สอง ให้เท่ากับระดับน้ำของแก้วใบแรก
3.  วางน้ำแข็งหนึ่งก้อนลงบนยอดของตลับฟิล์ม (เกาะ) และวางอีกก้อนบนน้ำในแก้วใบที่สอง ทำเครื่องหมายเพื่อ
     บอกระดับน้ำบนแก้วทั้ง 2 ใบ
4.  เมื่อน้ำแข็งทั้งสองก้อนละลายหมดแล้ว ให้ดูปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในแก้วทั้งสองใบ




สิ่งที่เกิดขึ้น
        น้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ (แก้วใบที่2) ได้แทนที่น้ำอยู่แล้วเพราะฉะนั้นเมื่อน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในขณะที่น้ำแข็งที่อยู่บนแผ่นดิน (แก้วใบที่1) เมื่อน้ำแข็งละลายและไหลลงไปในน้ำ ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น
        การละลายของน้ำแข็งหรือหิมะที่อยู่บนแผ่นดิน เช่น น้ำแข็งบริเวณแอนตาร์ติก้าจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ขณะที่การละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งลอยอยู่ในน้ำจะไม่ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากนัก


การ ถนอมแอปเปิลไว้




อุปกรณ์

-  น้ำมะนาว 1 ผล
-  แอปเปิล 1 ผล


วิธีทำ

-  ผ่าผลแอปเปิลออกเป็น ชิ้น ๆ (ประมาณ 4 ชิ้น)
-  บีบน้ำมะนาวลงบนแอปเปิล 2 ชิ้น
-  วางแอปเปิลทั้ง 4 ชิ้นทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง

สิ่งที่เกิดขึ้น

  แอปเปิลชิ้นที่ไม่บีบน้ำมะนาวลงไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ส่วนแอปเปิลชิ้นที่บีบน้ำมะนาวลงไปจะไม่เปลี่ยนแปลง

เหตุผล

                เมื่อเนื้อแอปเปิลสัมผัสอากาศ  สารเคมีบางอย่างในแอปเปิลจะเกิดปฏิกิริยาโดยการทำลายเซลล์ซึ่งทำให้
แอปเปิลมีสีน้ำตาล แต่วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ในน้ำมะนาวจะทำให้ปฏิกิริยาระหว่างสารเคมีในที่อยู่ในมะนาวกับ
ออกซิเจนในอากาศเกิดช้าลง น้ำมะนาวจึงช่วยถนอมสีและรสชาติของแอปเปิลไว้

ความลับของสี




 
       อุปกรณ์
  • สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
  • กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
  • แก้วใส่น้ำ

วิธีทดลอง
  • ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
  • ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
  • จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลงน้ำ
  • รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง  เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
  • นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป
เหตุผล

      สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆ มากมาย  การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ
            1.  สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน
            2.  สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน
      สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น

จดหมายล่องหน


การทดลอง ตอน จดหมายล่องหน
        หากใครมีความลับที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครทราบ แต่อยากบันทึกไว้เพื่อไม่ให้ลืม สามารถใช้วิธีการนี้ได้ จากการทดลองตอน “จดหมายล่องหน” หากใช้หมึกชนิดพิเศษนี้ ตัวหนังสือที่เขียนไว้จะหายไปและปรากฏขึ้นมาได้อย่างน่าทึ่ง และหากอยากรู้ว่าทำอย่างไรตัวหนังสือจะกลับคืนมาได้ ต้องทำการทดลองนี้
อุปกรณ์
1. พู่กัน หรือ ไม้พันสำลี
2. มะนาว 1 ลูก
3. กระดาษสีขาว 2-3 แผ่น
4. เตาขดลวดหรือเตารีด
5. ถ้วย 1 ใบ
6. มีด

วิธีการทดลอง
1. หั่นและบีบน้ำมะนาวใส่ถ้วย
2. จุ่มพู่กันหรือไม้พันสำลีลงในน้ำมะนาวและนำมาเขียนตัวอักษร หรือรูปการ์ตูนลงบนกระดาษ จากนั้นรอให้แห้ง สังเกตว่ามีภาพปรากฏขึ้นมาหรือไม่
3. นำแผ่นกระดาษนี้ไปรีดด้วยเตารีด หรืออังเหนือเตาขดลวด โดยในขั้นตอนนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้จากความร้อน สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นบนแผ่นกระดาษ


จากการทดลองจะพบว่า ภาพที่เราวาดไว้จะปรากฏขึ้นมา ก็ต่อเมื่อแผ่นกระดาษได้รับความร้อนเท่านั้น
        โดยปกติ สสารแต่ละชนิดจะมีอุณหภูมิที่จุดสันดาปหรือจุดเผาไหม้ที่แตกต่างกัน ทำให้ใช้ระยะเวลาในการเผาไหม้ที่แตกต่างกันด้วย ในน้ำมะนาวจะมีกรดซิตริกเป็นส่วนผสม เมื่อน้ำมะนาวระเหยแห้งไป จะเหลือกรดซิตริกค้างอยู่บนกระดาษ เนื่องจากกระดาษและกรดซิตริกมีอุณหภูมิจุดเผาไหม้ต่างกัน กรดซิตริกจะเข้าทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศแล้วถึงจุดเผาไหม้เห็นเป็นสีน้ำตาลตามรอยที่ได้เขียนตัวหนังสือหรือวาดภาพไว้ แต่เมื่อกระดาษได้รับความร้อนเพิ่มขึ้นหรือนานขึ้น กระดาษก็จะไหม้ตามในภายหลัง ฉะนั้นหากอยากได้ภาพสวย ๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึก ต้องระวังอย่าให้แผ่นกระดาษได้รับความร้อนมากเกินไป เพราะ กระดาษอาจจะไหม้ทั้งแผ่นได้ นอกจากมะนาวแล้วยังสามารถใช้ผลไม้ชนิดอื่น ๆ มาทำการทดลองได้อีกด้วย เช่น แอปเปิ้ล หรือส้ม ลองสังเกตสีที่ได้จากการนำไปอังไฟว่าเหมือนหรือแตกต่างจากการใช้น้ำมะนาวหรือไม่


การทดลอง ตอน ดอกไม้เปลี่ยนสี


การทดลอง ตอน ดอกไม้เปลี่ยนสี
          ดอกไม้ที่เราเห็น หลากสีตามท้องตลาดนั้น จริง ๆ แล้วเป็นสีจริง ๆ ของดอกไม้หรือเป็นสีที่ปรุงแต่งขึ้น สำหรับการทดลองนี้ เราจะมาทดลองสร้างสีสัน ให้กับดอกไม้กัน

อุปกรณ์
1. ดอกไม้สีขาวมีก้านติดมาด้วย หรือ ต้นขึ้นฉ่าย 1 ต้น
2. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
3. หนังยาง 1 เส้น
4. สีผสมอาหาร (สีแดงหรือสีน้ำเงิน) 1-2 หยด
5. แก้วน้ำทรงสูงบรรจุน้ำประมาณ 3 ส่วน
 
วิธีการทดลอง
1. หยดสีผสมอาหารลงในแก้วที่บรรจุน้ำ 1 – 2 หยด
2. เอียงแก้วน้ำเล็กน้อย ค่อย ๆ รินน้ำมันลงในแก้วน้ำ น้ำมันจะลอยอยู่ที่ผิวน้ำ แล้วใช้หนังยางรัดรอบแก้วน้ำ
3. ปักดอกไม้หรือต้นขึ้นฉ่ายลงในแก้วน้ำ แล้วเลื่อนตำแหน่งของหนังยางให้อยู่ที่ระดับผิวน้ำมัน
4. วางไว้ 2 วัน สังเกตสีของดอกไม้ที่เปลี่ยนไป และสังเกตระดับของน้ำที่ลดลง

         จากการทดลองเมื่อ แช่ดอกไม้ไว้ในน้ำสีข้ามวันข้ามคืน จะเห็นว่าดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ได้เปลี่ยนสีไปแล้ว และระดับน้ำก็ลดลงมาจากตำแหน่งเดิมที่เราใช้หนังยางรัดไว้ หลายคนคงสงสัยว่า สีที่ผสมอยู่ในน้ำเคลื่อนที่ขึ้นไปได้จนถึงดอกได้อย่างไรกัน
         พืชก็เหมือนกับมนุษย์เราที่ต้องกินน้ำ กินอาหาร เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ โดยสีที่เคลื่อนที่ขึ้นไปจนทำดอกไม้เปลี่ยนสีนั้น แสดงให้เห็นว่ามีการลำเลียงน้ำจากในแก้วขึ้นไปตามก้านจนถึงยอดดอก และระดับน้ำที่ลดลงนั้นก็เกิดจากการดูดน้ำของต้นไม้ ไม่ได้เกิดจากการระเหย เพราะน้ำมันที่ลอยอยู่ที่ผิวน้ำ สามารถป้องกันการระเหยของน้ำได้ดี
          ในพืชมีระบบลำเลียงน้ำและอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์เราที่มีระบบเลือดช่วยในการลำเลียงน้ำและอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สำหรับระบบลำเลียงในพืชนั้นมีลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ จำนวนมากมาย ทั้งท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ที่เรียกว่า ไซเลม (Xylem) และท่อลำเลียงอาหาร จำพวก น้ำตาล และกรดอะมิโน ที่สร้างขึ้นจากการสังเคราะห์แสง เรียกว่า โฟลเอม (Phloem) ท่อลำเลียงทั้งสองจะนำน้ำและอาหารกระจายไปทุกส่วนของพืช เพื่อการเจริญเติบโต

ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน


การทดลอง ตอน “ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน”
         น้ำยาล้างจาน ใคร ๆ ก็รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับห้องครัว มีประสิทธิภาพเป็นอย่างดีในการทำความสะอาดจานชาม สำหรับการทดลองนี้ เราจะมาดูกันว่า น้ำยาล้างจานจะสามารถนำมาทำการทดลองสนุก ๆ อะไรได้บ้าง
อุปกรณ์
1. แก้วน้ำ 2 ใบ
2. น้ำยาล้างจาน (ใช้ปริมาณเล็กน้อย)
3. ช้อน 1 คัน
4. กระดาษทิชชู่ (ตัดให้มีขนาดใหญกว่าคลิบเสียบกระดาษเล็กน้อย)
5. คลิบเสียบกระดาษ 2-3 ตัว


วิธีการทดลอง
1. นำแก้วน้ำมาเติมน้ำจนเต็มพอดี
2. นำคลิบเสียบกระดาษค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ โดยใช้กระดาษทิชชู่รองก่อน (ดังภาพที่ 1 ) รอประมาณ 10 วินาที กระดาษทิชชู่จะค่อย ๆ จมลงสู่ก้น แก้ว สังเกตคลิบเสียบกระดาษจมเช่นเดียวกับกระดาษทิชชู่หรือไม่
3. ใช้ช้อนตักน้ำยาล้างจานประมาณ 1 ใน 4 ช้อนชา หยดลงในแก้วน้ำที่มีคลิบเสียบกระดาษลอยอยู่ โดยหยดบริเวณใกล้ ๆ คลิบเสียบกระดาษ สังเกตผลที่เกิดขึ้น
 

        จากผลการทดลองจะเห็นว่าเมื่อกระดาษทิชชู่จมลงก้นแก้วแล้ว คลิบเสียบกระดาษยังสามารถลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ แหม ! ช่างมหัศจรรย์อะไรเช่นนี้ แต่ในการทดลองครั้งแรกหาก รีบวางคลิบพร้อมกระดาษทิชชู่รวดเร็วมากเกินไป คลิบอาจจมลงไปพร้อมกระดาษ ให้ทำการทดลองใหม่โดยค่อย ๆ วาง และหลังจากที่หยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วน้ำที่มีคลิบลอยอยู่ คลิบจะจมทันที
        โดยปกติแล้ว โมเลกุลของน้ำจะยึดเกาะกันแน่น ทำให้บางครั้งเรามักเห็นน้ำเกาะอยู่รวมกันเป็นหยด ๆ โดยแรง ๆ หนึ่ง ที่ทำให้น้ำยึดเกาะกันแน่นบริเวณผิวน้ำ เรียกว่า แรงตึงผิว การยึดเกาะกันแน่นของโมเลกุลของน้ำ ทำให้คลิบเสียบกระดาษสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานลงไป คลิบเสียบกระดาษที่ลอยอยู่จะจมทันที เนื่องจาก น้ำยาล้างจานมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้แรงตึงผิวบริเวณผิวน้ำลดน้อยลง เพื่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้เปียก และกระบวนการทำความสะอาดที่ดีขึ้น
ภาพจากhttp://blog.slb1.sanook.com/PortalPics/_SuntharaDhammo/images/default/water_drop3.jpg
        นอกจากนั้นแรงตึงผิวยังทำให้แมลงตัวเล็ก ๆ เช่น จิงโจ้น้ำ เดินไปบนผิวน้ำได้โดยไม่จม น้อง ๆ ลองสังเกตสัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่วิ่งเล่นอยู่บนผิวน้ำนะครับ ว่ามันวิ่งอยู่เหนือน้ำได้อย่างไร สำหรับสารลดแรงตึงผิวที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ยังมีอีกหลายชนิดครับ เช่น แชมพูสระผม ยาสีฟัน สบู่ ผงซักฟอก ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทดลองแทนน้ำยาล้างจานได้

ลูกบอลเด้งดึ๋ง


ลูกบอลเด้งดึ๋ง
วัสดุอุปกรณ์
1. ผงบอเรกซ์
2. น้ำอุ่น
3. กาวน้ำชนิดใส
4. กากเพชร
5. บีกเกอร์
6. แท่งแก้ว


วิธีทำ1. เติมน้ำอุ่น 1000 มิลลิลิตร และผงบอแรกซ์ 1 ช้อนโต๊ะ
ผสมเข้าด้วยกันและคนให้ละลาย
2. เทกาวน้ำชนิดใสลงในบีกเกอร์ เติมสีผสมอาหาร
กากเพชร แล้วคนให้เข้ากัน กาวที่ผสมแล้ว สารละลายบอแรกซ์  
 กาวที่ผสมแล้ว       สารละลายบอแรกซ์
3. เทสารละลายบอแรกซ์ที่เตรียมไว้ลงในบีกเกอร์ประมาณ 100 มิลลิลิตร
4. นำกาวน้ำชนิดใสที่เตรียมไว้เทลงในบีกเกอร์ที่มีสารละลายบอแรกซ์ ขณะที่เทกาวลงไปต้องใช้แท่งแก้วคนตลอดเวลา
 
สารข้นเหนียวที่ได้จากการทดลอง
5. จะมีสารลักษณะข้นเหนียวเกาะรอบแท่งแก้ว แล้วใช้มือแกะสารเหนียวซึ่งเราจะเรียกว่าลูกเด้งออกจากแท่งแก้ว
6. บีบลูกเด้งในอุ้งมือโดยใช้มือทั้งสองข้างค่อยๆ บีบและคลึงไปเรื่อยๆ
7. ลองปาลูกเด้งที่ได้บนโต๊ะหรือพื้นกระเบื้อง
ลูกบอลเด้งดึ๋ง
หมายเหตุ : อัตราส่วนระหว่างผงบอแรกซ์กับน้ำอุ่นสามารถปรับลดได้
ตามความต้องการนะคะเช่น ผงบอแรกซ์ ¼ ช้อนชา + น้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร

 

ถ้าไม่ได้ผลจะทำอย่างไร• ลองละลายบอแรกซ์ในน้ำให้มากขึ้น มันจะได้ผลเมื่อเราใช้น้ำอุ่น
• การบีบน้ำออกเราต้องค่อยๆ ทำมิฉะนั้นลูกบอลจะแตก แต่ถ้าลูกบอลแตกให้ขยำก้อนกาวให้ติดกันอีกครั้ง
ลูกบอลเด้งดึ๋งกระดอนได้อย่างไร          น้องๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมลูกบอลพลาสติกถึงกระเด้งได้อย่างง่ายดายเมื่อกระทบกับพื้น เรามาค้าหาความลับนั้นกัน
          จากการทดลองข้างต้น กาวน้ำใสธรรมดา เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า มอนอเมอร์ ซึ่งต่อกันหลายๆ หน่วยย่อยจนกลายเป็นโมเลกุลสายยาว เรียกว่า พอลิเมอร์ ทำให้กาวมีคุณสมบัติเหนียว และเมื่อเติมสารละลายบอแรกซ์ลงไป จะเป็นตัวเชื่อมโมเลกุลเกาะติดกันเป็นสายยาวมากขึ้น ทำให้มีลักษณะเป็นยางยืดหยุ่น ลูกบอลจึงเด้งกระดอนได้เมื่อกระทบกับพื้น แต่น่าเสียดายที่ปฎิกิริยายังดำเนินต่อไป ดังนั้นลูกบอลเด้งดึ๋งจึงแข็งตัวขึ้นหลังจากผ่านไป 2-3 ชั่วโมง และไม่เด้งดึ๋งอีก
ทีนี้เราก็รู้แล้วว่า
           ลูกบอลมักผลิตด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะกลับคืนสู่รูปทรงเดิมของมันเสมอ เช่นเดียวกับลูกบอลเด้งดึ๋งแบบที่เราทำขึ้น เมื่อปาลงบนพื้น ลูกบอลเด้งดึ๋งที่กระทบพื้นจะถูกกดเข้าไป แต่เพราะมันทำด้วยวัสดุยืดหยุ่น ด้านที่โดนกดเข้าไปจึงคลายตัวกลับคืนสู่รูปร่างเดิมพร้อมกับส่งแรงดันต้านพื้น ทำให้ลูกบอลเด้งดึ๋งเด้งได้


เปลี่ยนเขม่าสีดำเป็นสีเงิน


เปลี่ยนเขม่าสีดำเป็นสีเงิน

เชื่อหรือไม่ว่า เราสามารถเปลี่ยนเขม่าสีดำให้กลายเป็นสีเงินได้ โดยใช้เทียนไขกับน้ำ แต่การทดลองนี้ควรมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย
 
อุปกรณ์
1. ภาชนะที่ไม่ติดไฟ เช่น ถ้วยกระเบื้อง
2. เทียนไข
3. น้ำ

วิธีทดลอง
1. จุดเทียนไข
2. นำสิ่งของมาลนไฟจากเทียนไข ตรงส่วนไฟสีเหลือง ให้มีเขม่าควันจับ ตัวอย่างในรูปเป็นหลอดแก้วทดลอง
คำเตือน: ระวังความร้อนจากเทียนและไม่ควรจับสิ่งของด้วยมือเปล่า
3. จากนั้นนำสิ่งของเอาไปจุ่มในน้ำแสะสังเกตสีของเขม่าเมื่ออยู่ในน้ำ


เมื่อนำหลอดแก้วที่มีเขม่าสีดำติดอยู่มาแช่น้ำ เขม่าจะกลายเป็นสีเงิน และเมื่อนำหลอดแก้วขึ้นมาจากน้ำจะเห็นว่าเขม่าไม่เปียกน้ำ
          เขม่าที่ติดอยู่บนหลอดแก้วมีขนาดเล็กระดับไมโครเมตร เมื่อนำไปจุ่มน้ำ แรงตึงผิวของน้ำจะทำให้เกิดชั้นอากาศบางๆ ระหว่างเขม่าและน้ำ เขม่าจึงไม่เปียกน้ำ และทำให้ลำแสงเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ชั้นอากาศจึงทำให้มองเห็นเขม่าเป็นสีเงิน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่เห็นในการทดลองเรียก “น้ำนำแสง” บนเว็บไซต์ อพวช. หน้า “การทดลองวิทยาศาสตร์”

การทดลองวิทยาศาสตร์


น้ำนำแสง
รู้จักเส้นใยแก้วนำแสงไหม?
           เส้นใยแก้วเป็นเส้นใยที่ทำจากแก้วบริสุทธิ์และส่งสัญญาณแสงได้ เมื่อส่องแสงไปที่ปลายของเส้นใยแก้วนำแสง แสงจะสามารถเดินทางภายในเส้นใยแก้วและถูกส่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของแสงกับวัสดุ ประโยชน์ที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันคือการส่งข้อมูลได้จำนวนมาก เช่นสายอินเทอร์เน็ต นอกจากวัสดุที่เป็นแก้วแล้ว แสงยังสามารถเดินทางในน้ำเปล่า ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์เดียวกัน เรามาทำการทดลองเพื่อเรียนรู้หลักการการสะท้อนของแสงระหว่างพื้นผิวของวัสดุโปร่งแสง 2 ชนิด

อุปกรณ์1. ไฟฉาย
2. ขวดน้ำพลาสติกใส
3. น้ำเปล่า
4. กรรไกรหรือสิ่งที่เจาะรูกลมได้

วิธีทดลอง1. เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรบริเวณใกล้กับฐานขวด
2. จากนั้นใช้นิ้วอุดรูไว้ และเติมน้ำให้สูงกว่ารู
3. ใช้ไฟฉายส่องด้านหลังขวดบริเวณตรงข้ามกับรู
4. เอานิ้วออกจากรูและใช้มืออีกข้างรับน้ำที่ไหลออกมาจากรู
5. สังเกตบริเวณปลายสุดของน้ำที่ไหลออกมา
             จากการทดลอง เมื่อเราส่องแสงไปในน้ำ แสงสามารถเดินทางมาตามลำน้ำได้จนถึงปลายทางของน้ำ ตามหลักการวิทยาศาสตร์กล่าวว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง แต่ในการทดลองนี้ ถึงแม้ว่าสายน้ำจะโค้งแต่แสงก็เดินทางมาตามน้ำมาได้ เพราะเหตุใดแสงจึงเดินทางตามน้ำที่โค้งได้?
            จริงๆ แล้วแสงยังเดินทางเป็นเส้นตรงจากอากาศ และสะท้อนออกมาเป็นเส้นตรงเมื่อตกบนพื้นผิว เช่นน้ำ ซึ่งบางส่วนของแสงจะสะท้อนกลับ และเนื่องจากน้ำโปร่งแสง แสงบางส่วนจึงสามารถเดินทางผ่านจากอากาศไปในน้ำได้ ในทางกลับกัน แสงที่เปล่งในน้ำสามารถเดินทางผ่านน้ำไปสู่อากาศได้ ดังลำแสงเส้นสีเขียวในรูปภาพนี้ (ลองทำการทดลอง “ลำแสงหักเห” จากเว็บไซต์ อพวช. หน้า “การทดลองวิทยาศาสตร์”)


             เมื่อแสงตกลงที่พื้นผิวระหว่างตัวกลางทั้งสอง ทำมุมเท่ากับหรือมากกว่า มุม θ ดั่งลำแสงสีแดงในรูปนี้ แสงทั้งหมดจะสะท้อนกลับเข้าตัวกลางเดิม ไม่สามารถผ่านพื้นผิวระหว่างสองตัวกลางได้ มุม θ หรือเรียกว่า มุมวิกฤตของแต่ละตัวกลางจะแตกต่างกัน ซึ่งปรากฏการณ์นี้คือการสะท้อนกลับหมด แสงในใยแก้วนำแสงและลำน้ำจึงสามารถสะท้อนกับพื้นผิวและเดินทางผ่านตัวกลางที่โค้งอยู่ และเปล่งออกมาอีกด้านหนึ่งได้